
เคยสงสัยมั้ย?
ทำไมประเทศไทยถึงมีอากาศร้อนมาก
มีแดดร้อนจัดแทบตลอดปี
นั่นเพราะประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
และเป็นที่ราบต่ำ
เลยทำให้มีอากาศร้อน
จะมีช่วงปลายปีที่อากาศจะเริ่มเย็นลงบ้าง
แต่แสงแดดก็ยังร้อนอยู่ดี
หลายคนจึงพยายามหาวิธีต่อสู้กับแสงแดดจัด
ด้วยการเดินหลบแดด กางร่ม
หรือแม้แต่การเลือกใช้ครีมกันแดด
เพื่อป้องกันอาการแสบร้อนผิว
และไม่ให้สีผิวคล้ำขึ้นนั่นเอง
แต่ในความร้อนแบบร้ายๆ
ก็ยังมีความดีอยู่
เพราะการที่เราได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม
ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ร่างกายเราจะได้รับ “วิตามินดี”
ที่เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
หากใครที่ผิวหนังไม่ได้รับแสงแดดเลย
หรือโดนแดดน้อยเกินไป
อาจส่งผลให้กระดูกเปราะบางลง
เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
การสัมผัสแสงแดด
อาจช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินเพิ่มขึ้น
ซึ่งช่วยกระตุ้นทางด้านอารมณ์
ช่วยให้มีสมาธิ และใจเย็นขึ้นด้วย
เราจึงควรหาเวลาออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการรับแสงแดดอ่อนยามเช้า
คือ 07.00-08.00น
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า การสัมผัสแดดอ่อนๆเพียง 2-3 วัน/สัปดาห์ วันละ 5-15 นาที ร่างกายจะได้รับวิตามินดีจากแดดในปริมาณเพียงพอแล้ว **อย่างไรก็ตาม ปริมาณการรับแสงแดดของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปตามลักษณะผิวหนัง และปริมาณรังสี UV ที่มีอยู่ในแสงแดดเวลานั้นด้วย
แม้แสงแดดจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ประกอบไปด้วยรังสี UVA, UVB และUVC ที่เป็นอันตราย หากสัมผัสแดดนานเกินไป อาจทำให้ผิวหนังไหม้ ผิวแห้ง หยาบกร้าน ดำคล้ำ หรืออาจเป็นลมแดดได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขไทยเผยว่า แดดในประเทศไทยช่วงเวลา 09:00-15:00น จะมีปริมาณรังสี UV อยู่มาก จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผิวหนังและสุขภาพ หากต้องสัมผัสแดดเป็นเวลานาน ควรสำรวจร่างกายตนเองและเด็กอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติ เช่น ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง บวม หรือมีเลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที